ก่อนที่จะมีการยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษา (วศ) 8 แห่ง ประกอบด้วยวิทยาเขตกลาง 4 แห่งในกรุงเทพฯ วศ ประสานมิตร (2492) วศ ปทุมวัน (2498) วศ พระนคร (2512) วศ พลศึกษา (2513) วิทยาเขตภูมิภาค 4 แห่ง วศ บางแสน (2498) จังหวัดชลบุรี วศ พิษณุโลก (2510) จังหวัดพิษณุโลก วศ มหาสารคาม (2511)จังหวัดมหาสารคาม วศ สงขลา(2511) ทั้งหมดสังกัดกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ เป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ ในปี พ.ศ.2527 พระราชบัญญัติวิชาการศึกษา พ.ศ. 2497 ไม่มีองค์กรสภาคณาจารย์ ศูนย์รวมของคณาจารย์และพนักงาน บัญญัติไว้ ทำให้ขาดการมีส่วนร่วมระหว่างวิทยาลัยและคณาจารย์ข้าราชการ
หลังจากได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2517 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เป็นศูนย์กลางในการดำเนินงาน มีอธิการบดีได้รับการแต่งตั้งจาก สภามหาวิทยาลัยเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด ส่วนที่เหลืออีก 7 แห่งเป็นวิทยาเขต แต่ละแห่งมีรองอธิการบดีประจำวิทยาเขต ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากสภามหาวิทยาลัย รับมอบอำนาจจากอธิการบดีดูแลรับผิดชอบการบริหารของวิทยาเขตในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ.2517 ไม่มีบทบัญญัติว่าด้วยสภาคณาจารย์ 4 ปีต่อมา พ.ศ.2522 คณาจารย์และพนักงาน ในแต่ละวิทยาเขตร่วมกันจัดตั้งสภาคณาจารย์ขึ้นมาเป็นครั้งแรก เรียกชื่อว่า สภาคณาจารย์วิทยาเขต ประธานสภาคณาจารย์วิทยาเขตทั้งแปด ลงมติเลือก 1 ท่าน ดำรงตำแหน่งประธานสภาคณาจารย์ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี เลือกตั้งใหม่ ในระยะแรกๆ มีผู้บริหารมหาวิทยาลัยบางท่านไม่ทราบว่าสภาคณาจารย์วิทยาเขต และสภาคณาจารย์กลาง มีภาระหน้าที่ต้องดำเนินการอะไรบ้าง สำหรับหน้าที่ของสภาคณาจารย์วิทยาเขต และสภาคณาจารย์กลาง คือ สภาคณาจารย์วิทยาเขต เป็นตัวแทนของคณาจารย์และพนักงาน มีหน้าที่เสนอชื่อแนะนำ ให้คำปรึกษาแก่มหาวิทยาลัยในด้านวิชาการ บริหาร กิจการนิสิต สวัสดิการ และงานอื่นๆ ดังนี้
- เป็นตัวแทนของคณาจารย์ ในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการ หรือผลประโยชน์ของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย
- เป็นตัวแทนของคณาจารย์ในการติดต่อประสานงานกับสภาคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยและ/หรือสถาบันอื่นๆ
- ให้คำแนะนำและเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายในการกำหนดมาตรฐานทางวิชาการ
- พิจารณาและเสนอแนะเกี่ยวกับการปกครอง มาตรฐานการทำงาน และจริยธรรมของคณาจารย์
- พิจารณาและเสนอแนะนโยบายเกี่ยวกับการปกครองและกิจกรรมต่างๆ ของนิสิต
- พิจารณาวางเกณฑ์และเสนอแนะในการแต่งตั้งหัวหน้าหน่วยงาน ทั้งในด้านวิชาการและด้านบริหาร
- พิจารณาและให้ความคิดเห็นในเรื่องอื่น เกี่ยวกับการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย
สภาคณาจารย์กลาง มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายทางการบริหาร วิชาการ กิจการนิสิต และกิจการอื่นๆ ต่อทางมหาวิทยาลัยและทำหน้าที่เป็นตัวแทนสภาคณาจารย์วิทยาเขต
ทำเนียบประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- รองศาสตราจารย์ชม ภูมิภาค พ.ศ.2522 – พ.ศ. 2523 ประธานสภาคณาจารย์ วิทยาเขตประสานมิตร และประธานสภาคณาจารย์กลาง
- รองศาสาตราจารย์สมควร อภัยพันธุ์ พ.ศ. 2524 – พ.ศ.2525 ประธานสภาคณาจารย์ วิทยาเขต ประสานมิตรและประธานสภาคณาจารย์กลาง
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์อุทัย ชูธรรมขจร พ.ศ.2526 – พ.ศ.2527 ประธานสภาคณาจารย์ วิทยาเขต ประสานมิตร และประธานสภาคณาจารย์กลาง
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์อุทัย ชูธรรมขจร พ.ศ.2528 – พ.ศ.2529 ประธานสภาคณาจารย์ วิทยาเขต ประสานมิตร และประธานสภาคณาจารย์กลาง
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมพล มงคลพิทักษ์สุข พ.ศ.2530 – พ.ศ.2531 ประธานสภาคณาจารย์ วิทยาเขตบางเขน และประธานสภาคณาจารย์กลาง
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิสิทธิ์ สารวิจิตร พ.ศ. 2532-พ.ศ.2533 ประธานสภาคณาจารย์ วิทยาเขตประสานมิตร
- รองศาสตราจารย์สมพล มงคลพิทักษ์สุข พ.ศ.2532 – พ.ศ.2533 ประธานสภาคณาจารย์ วิทยาเขตบางเขน ประธานสภาคณาจารย์กลาง
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิตร ทองชั้น พ.ศ.2532 –พ.ศ. 2533 ประธานสภาคณาจารย์ วิทยาเขตประสานมิตร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์สายสนม ธรรมพิทักษ์ พ.ศ.2534 – พ.ศ.2535 ประธานสภาคณาจารย์ วิทยาเขตประสานมิตร
- รองศาสตราจารย์สมพล มงคลพิทักษ์สุข พ.ศ.2534 – พ.ศ.2535 ประธานสภาคณาจารย์ วิทยาเขตบางเขน ประธานสภาคณาจารย์กลาง
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์เฉลิมศักดิ์ สุภาผล พ.ศ. 2536 - พ.ศ.2537 ประธานสภาคณาจารย์ วิทยาเขตประสานมิตร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภิญโญ ตันพิทยคุปต์ พ.ศ.2536 –พ.ศ. 2537 ประธานสภาคณาจารย์ วิทยาเขต สงขลา และประธานสภาคณาจารย์กลาง
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์อุทัย ชูธรรมขจร พ.ศ.2538 – พ.ศ.2539 ประธานสภาคณาจารย์ วิทยาเขต ประสานมิตร และประธานสภาคณาจารย์กลาง
หลังปี พ.ศ.2539 มีการยุบรวมวิทยาเขตกลาง 3 แห่ง คือ ปทุมวัน พลศึกษา และบางเขน ไปไว้ที่ มศว ประสานมิตร และวิทยาเขตภูมิภาค 4 แห่ง คือ บางแสน มหาสารคาม พิษณุโลก และสงขลา แยกตัวเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ ตำแหน่งประธานสภาคณาจารย์กลางสิ้นสุดลง เหลือเฉพาะสภาคณาจารย์ มศว มีผู้ดำรงตำแหน่งต่อมา ดังนี้
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อุทัย ชูธรรมขจร พ.ศ.2540 – พ.ศ.2541
- รองศาสตราจารย์ ชาญวิทย์ เทียมบุญประเสริฐ พ.ศ.2542 – พ.ศ.2543
- รองศาสตราจารย์ ชาญวิทย์ เทียมบุญประเสริฐ พ.ศ.2544 – พ.ศ.2545
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลัช จงสืบพันธ์ พ.ศ.2546 – พ.ศ. 2547
- นายไชยา กุฎาคาร พ.ศ. 2548 – พ.ศ.2549
- นายไชยา กุฎาคาร พ.ศ. 2550 – พ.ศ.2551
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิริยุภา พูลสุวรรณ พ.ศ.2552 – พ.ศ. 2553
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์พินิจ เทพสาธร 18 เม.ย. 2554 – 17 เม.ย. .2556
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์พินิจ เทพสาธร 18 เม.ย. 2556 - 17 เม.ย. 2558
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระชน พลโยธา 24 เม.ย..2558 – 23 เม.ย. 2560
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีระชน พลโยธา 27 เม.ย. 2560 – 26 เม.ย. 2562
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มะยูโซ๊ะ กูโน 15 พ.ค. 2562 - 14 พ.ค. 2564
ต่อมาปี พ.ศ. 2539 ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อสภาคณาจารย์เป็น สภาคณาจารย์และข้าราชการ ในปี พ.ศ.2541 ได้มีการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปี พ.ศ.2517 ได้บัญญัติให้มีสภาคณาจารย์และข้าราชการไว้ในมาตรา 18 ดังนี้
มาตรา 18 ให้มีสภาคณาจารย์และข้าราชการประกอบด้วยกรรมการ ซึ่งคณาจารย์ประจำและข้าราชการของมหาวิทยาลัยเลือกตั้งจากคณาจารย์ประจำและข้าราชการของมหาวิทยาลัย
สภาคณาจารย์และข้าราชการ มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อแนะนำในกิจการของมหาวิทยาลัยต่ออธิการบดี และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่อธิการบดีมอบหมาย
องค์ประกอบ จำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้ง วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ ตลอดจนการประชุมและการดำเนินงานของสภาคณาจารย์และข้าราชการ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
ต่อมาเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559 ได้มีประกาศราชกิจจานุเบกษาตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2559 ให้มีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ที่ไม่เป็นส่วนราชการ และให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559) โดยให้ยกเลิกพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ.2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
โดยมาตรา 4 ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2559 คำว่า สภาคณาจารย์และพนักงาน หมายความว่า สภาคณาจารย์และพนักงาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มาตรา 27 ให้มีสภาคณาจารย์และพนักงาน
มาตรา 28 สภาคณาจารย์และพนักงานมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
- เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่สภามหาวิทยาลัยและอธิการบดีในการบริหารกิจการทั้งปวง
- ส่งเสริมจรรยาบรรณของคณาจารย์และผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย
- สร้างและส่งเสริมความสามัคคีของคณาจารย์และผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย
- ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่สภามหาวิทยาลัยหรืออธิการบดีมอบหมาย